สำรวจพื้นที่ทำงาน ทำการสำรวจสภาพพื้นที่หน้างานว่ามีความจำเป็นต้องทำกำแพงกันดินหรือไม่ และควรสำรวจโดยทีมช่างหรือวิศวกรที่มีความชำนาญ ดังนี้
พื้นที่หน้างานเป็นพื้นที่ต่างระดับที่มีความสูงมากกว่าพื้นที่ใกล้เคียงหรือไม่
พื้นที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ หรือ เป็นพื้นที่ที่เคยน้ำท่วมหรือไม่
สภาพดินเป็นดินที่ถมไว้นานแล้ว หรือเป็นดินที่เพิ่งถมใหม่(ดินเก่า หรือ ดินใหม่)
โดยข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นข้อมูลสำคัญที่วิศวกรจะรวบรวมนำมาวิเคราะห์และออกแบบกำแพงกันดิน เพื่อคำนวณขนาดและความยาวของ “เสาเข็มไอ” ที่ต้องใช้ได้อย่างเหมาะสม
ถมดินสูงกี่เมตร? ข้อมูลสำคัญที่จะทำให้ทราบได้ว่า จะต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่? ในการสั่งซื้อวัสดุอย่าง เสาเข็มไอ และ แผ่นพื้นสำเร็จรูป บ่อยครั้งที่เจ้าของบ้านอยากทำกำแพงกันดิน อยากทราบงบประมาณค่าวัสดุ แต่ยังไม่ทราบว่าพื้นที่ตนเองนั้นถมดินสูงกี่เมตร จึงทำให้ไม่สามารถคำนวณค่าวัสดุได้ ดังนั้นต้องทำการวัดระดับความสูงของดินที่แน่นอน เพราะงบประมาณวัสดุกำแพงกันดินจะขึ้นอยู่กับระดับความสูงของดินที่จะทำ
วัดระยะพื้นที่ให้ครบถ้วน เมื่อทราบความสูงของดินแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่จะคำนวณงบประมาณค่าวัสดุต่อได้ คือต้องทราบพื้นที่ทั้งหมดที่จะทำกำแพงกันดิน โดยควรวัดระยะเป็นเมตร เพื่อให้ง่ายในการคำนวณ โดยต้องทราบข้อมูลดังนี้
แจ้งระยะความยาวเป็นเมตรให้ครบทุกด้าน
หากล้อมเป็นแนวยาวด้านเดียว หากมีประตูคั่นต้องทราบว่าจะมีการเว้นประตูไว้กี่เมตร และประตูจะอยู่กึ่งกลาง หรืออยู่ชิดฝั่งใด ฝั่งหนึ่งหรือไม่
ต้องระบุความยาวให้ครบทุกด้านเสมอ เพื่อการคำนวณเสาได้อย่างแม่นยำ
ในกรณีที่ต้องการให้ทางร้าน วันเอ็มคอนกรีต คำนวณให้ แนะนำให้วาดเป็นพื้นที่ พร้อมระบุความยาวแต่ละด้าน มีบริการคำนวณงบประมาณให้ฟรี
***ข้อควรรู้: การคำนวณที่แม่นยำต้องระบุความยาวเป็นเมตรเสมอ หากแจ้งพื้นที่เป็น ไร่, ตารางวา, ตารางเมตร จะไม่สามารถคำนวณได้ เนื่องจากต้องมีการคำนวณเสาของแต่ละด้าน ตามพื้นที่จริงที่จะทำกำแพงกันดิน
เรื่องน่ารู้ “กำแพงกันดิน”
ขนาดความยาวเสาเข็มไอที่จะเลือกใช้ ต้องมีความยาวประมาณ 2-3 เท่า ของความสูงของดินที่ถม เช่น ถมดินสูง 1 เมตร ควรเลือกใช้เสาเข็มไอยาว 3-4 เมตร ซึ่งถือเป็นระยะแนะนำที่มีความปลอดภัย
การเทคานด้านบนกำแพงกันดิน หรือเรียกว่าเทคานรัดหัวเสามีความจำเป็นอย่างมากที่จะช่วยประคองเสาเรียงตัวกันได้นานยิ่งขึ้น ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับกำแพงกันดินให้ใช้งานได้ในระยะยาว
หลังจากติดตั้งกำแพงกันดินแล้วจึงถมดินที่เว้นไว้ให้เต็มช่องว่าง ซึ่งดินไม่ควรสูงกว่าระดับกำแพงกันดินที่ทำไว้ เพราะจะทำให้กำแพงกันดินรับน้ำหนักเกินความจำเป็น
ต้องมีสเตย์กำแพงกันดิน กรณีใดบ้าง?
ควรทำการดึงสเตย์กำแพงกันดิน ในกรณีที่กำแพงกันดินอยู่ใกล้แหล่งน้ำ หรือกำแพงกันดินมีความสูงมาก เพื่อเป็นการเสริมความแข็งแรง เสตย์จะช่วยรับแรงต้านของดินที่ถมไว้ที่จะกระทำกับกำแพงกันดิน และช่วยยึดให้โครงสร้างด้านบนไว้ไม่ทรุดพังทลายลงมา
ตัวอย่าง การคำนวณ**ค่าวัสดุ** กำแพงกันดินสูง 1 เมตร (ไม่รวมค่าติดตั้งและค่าจัดส่ง)
กรณีที่1: พื้นที่ยาว 25 เมตร ล้อมยาวด้านเดียว **ไม่เว้นประตู**
นำพื้นที่หารด้วย ระยะห่างเสา คือ 1.56 เมตร คือ 25/1.56 = *16.02* ช่อง
เสาเข็มไอ15 ยาว 3 ม. 16 ต้น (บวกเสาปิดมุม 1 ต้น) รวมเป็น 17 ต้น = 7,650 บ.
แผ่นพื้นสำเร็จรูป หน้า 35 ซม. ยาว 1 ม. 48 แผ่น = 4,704 บ.
** รวมเฉพาะค่าวัสดุ เสาเข็มและแผ่นพื้น 12,354 บ. (ราคาอัพเดทปี 2568)
กรณีที่2: พื้นที่ยาว 25 เมตร ล้อมยาวด้านเดียว **เว้นประตูชิดขอบ**
เว้นประตูไว้ 1 เมตร นำพื้นที่ที่เหลือ 24 เมตร หารด้วย ระยะห่างเสา คือ 1.56 เมตร
คือ 24/1.56 = *15.38* ช่อง (กรณีเหลือเศษสามารถขยับเสาให้พอดีได้)
เสาเข็มไอ15 ยาว 3 ม. 15 ต้น (บวกเสาปิดมุม 1 ต้น) รวมเป็น 16 ต้น = 7,200 บ.
แผ่นพื้นสำเร็จรูป หน้า 35 ซม. ยาว 1 ม. 45 แผ่น = 4,410 บ.
** รวมเฉพาะค่าวัสดุ เสาเข็มและแผ่นพื้น 11,610 บ.
(ราคาอัพเดทปี 2568)
สรุป
จากภาพตัวอย่างจะเห็นได้ว่าพื้นที่เดียวกัน ระยะความยาวเท่ากัน แต่หากมีการเว้นประตูหรือไม่เว้นประตู จำนวนเสาและแผ่นพื้นสำเร็จรูป จะใช้ไม่เท่ากันและงบประมาณก็จะต่างกันออกไป ตามลักษณะการเว้นประตู ดังนั้นแล้วข้อมูลพื้นที่จึงสำคัญมากที่จะช่วยกำหนดงบประมาณที่แน่นอนแม่นยำให้กับผู้ที่ต้องการทราบข้อมูล เพื่อให้สามารถวางแผนในการเตรียมงบประมาณว่าต้องใช้งบค่าวัสดุเท่าไหร่ และในส่วนของค่าติดตั้งที่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เพื่อให้เจ้าของบ้านเตรียมงบได้เพียงพอและการคำนวณค่าวัสดุที่แม่นยำ ยังช่วยให้งบไม่บานปลายอีกด้วย