งานฐานราก (Footing) คืออะไร?
งานฐานราก (Footing) จัดเป็นโครงสร้างสำคัญที่อยู่ใต้พื้นดิน มีหน้าที่คอยรับน้ำหนักจากโครงสร้างทั้งหมด เพื่อถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาเข็มหรือลงสู่ดินโดยตรง โดยจะมีฐานรากแบบที่ใช้เสาเข็ม และไม่ได้ใช้เสาเข็มหรือที่เรียกว่าฐานรากแผ่นั่นเอง
การทำฐานรากที่ดี ควรทำให้ได้ตามมาตรฐานที่วิศวกรกำหนดเอาไว้ รวมไปถึงเรื่องของวัสดุที่ใช้ เพื่อป้องกันไม่ได้โครงสร้างของสิ่งปลูกสร้างเกิดการทรุดตัวเสี่ยงต่อความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต วันเอ็มคอนกรีต จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงานฐานรากว่ามีแบบใดบ้าง และขั้นตอนการทำฐานรากเพื่อให้ผู้ที่กำลังจะสร้างบ้านได้มีข้อมูลความรู้เบื้องต้นในการตรวจสอบขั้นตอนต่างๆ การก่อสร้าง หรือสามารถพูดคุยกับช่างผู้รับเหมาของท่านได้เบื้องต้น
จะรู้ได้อย่างไรว่าต้องทำฐานรากแบบไหน?
เมื่อจะสร้างบ้านสักหลัง หากอยากรู้ว่าจะต้องทำฐานรากแบบใดนั้น เป็นหน้าที่ของวิศวกรที่จะต้องเป็นผู้กำหนดโดยการทดสอบดิน(Soil Test) ว่าหน้างานนั้นเป็นดินลักษณะใด อาจจะต้องดูตามพื้นที่ เช่น หากเป็นพื้นที่ภาคกลางก็มีความจำเป็นต้องลงเสาเข็มเนื่องจากเป็นลักษณะดินอ่อน โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง เพราะเคยเป็นพื่นที่น้ำท่วมมาก่อน
แต่ถ้าเป็นพื้นที่ต่างจังหวัดที่ดินเป็นลักษณะดินแข็งก็ไม่มีความจำเป็นต้องลงเสาเข็ม สามารถใช้ฐานรากแบบแผ่ก็เพียงพอ แต่อย่างไรก็ตาม การจะตอบได้ว่าต้องใช้เสาเข็มหรือไม่ แต่ละหน้างานที่แตกต่างกันย่อมไม่เหมือนกัน ควรให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดจึงจะดีที่สุด
ประเภทของฐานรากที่ได้รับความนิยม
ฐานรากแบบแผ่ (Shallow Foundation) หรือเรียกว่าฐานรากตื้น คือฐานรากแบบที่ไม่มีเสาเข็มรองรับ ใช้แผ่กระจายน้ำหนักลงสู่ดินโดยตรง ฐานรากแบบนี้ เหมาะกับพื้นที่ดินแข็ง ตอกเสาเข็มลงได้ยาก
ฐานรากแบบลึก (Pile Foundation) หรือแบบมีเสาเข็มรองรับ ใช้กับหน้างานที่มีลักษณะดินอ่อน จำเป็นต้องมีเสาเข็มรองรับก่อนกระจายน้ำหนักลงสู่ดิน ซึ่งความลึกของเสาเข็มย่อมแตกต่างกันไปตามชั้นดินของแต่ละหน้างาน
ขั้นตอนการทำฐานราก
1. เตรียมพื้นที่หน้างานและวางผังให้เรียบร้อย
2. กำหนดขนาดหลุมและเริ่มทำการขุดหลุมให้ลึกตามแบบที่กำหนด
3. เททรายหยาบลงไปแล้วทำการเกลี่ยให้เท่ากันอัดทรายให้แน่นแล้วใส่น้ำลงไปเล็กน้อย
4. เมื่อทรายให้แล้ว เทลีน หรือ คอนกรีตหยาบลงหลุม
5. วางตะแกรงเหล็กที่ใช้ทำฐานรากตามแบบ โดยใส่ลูกปูนหนุนรองเหล็กเสริมด้านล่าง จากนั้นวางเหล็กแกนเสาและทำการผูกปลอกเหล็กเสาให้เรียบร้อย
6. ก่อนจะทำการเทคอนกรีตลงไป ควรตรวจสอบเหล็กเสริมและลูกปูนให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้และตรวจสอบความเรียบร้อย ก่อนเทคอนกรีตลงไป
ตรวจสอบมาตรฐานของฐานรากอย่างไร?
1. การเลือกใช้ฐานรากให้ตรงกับลักษณะอาคารและสภาพหน้างาน
2. การเตรียมพื้นที่อย่างระมัดระวัง เช่น การเตรียมดิน ปรับสภาพดินหน้างาน
3. การเลือกวัสดุในการทำฐานรากและขนาดหลุมต้องตรงตามแบบและได้มาตรฐานที่วิศวกรโครงสร้างออกแบบไว้
4. ขั้นตอนการเข้าแบบฐานรากและเทคอนกรีตต้องเป็นไปอย่างระมัดระวัง ไม่ให้แบบเคลื่อนขณะเทคอนกรีตตามที่วิศวกรกำหนดแบบเอาไว้