ไฟฟ้าเกษตร ไฟฟ้าฟรี คืออะไร? หลายท่านอาจจะเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้าง แต่รู้หรือไม่ว่า แตกต่างจากไฟฟ้าที่เราใช้ตามบ้านเรือนทั่วไปอย่างไร? และหากอยากจะขอใช้บ้าง ต้องมีขั้นตอน หลักเกณฑ์ อย่างไรบ้าง วันเอ็มคอนกรีต จึงได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจ สำหรับท่านที่กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับการขอไฟฟ้า เพื่อใช้ในพื้นที่ไร่นาของตนเอง ว่ามีวิธีการอย่างไร ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ให้ความหมายของ ไฟเกษตร เอาไว้ว่า “ไฟเกษตร คือ การนำไฟฟ้ามาใช้ในสวนเพื่อทำการเกษตร ยกตัวอย่างเช่น การใช้กับเครื่องสูบน้ำ หลอดไฟส่องสว่างในพื้นที่ เป็นต้น” ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าทุกคนจะขอใช้ไฟเกษตรได้ แต่จำเป็นจะต้องผ่านเกณฑ์คุณสมบัติต่าง ๆ ที่โครงการกำหนดด้วย
หลักเกณฑ์การขอเข้าร่วมโครงการ
1. มีหนังสือรับรองว่าพื้นที่ของท่านไม่ได้อยู่ในเขตหวงห้ามของทางราชการใดๆ โดยต้องมีการรับรองจาก อบต.(องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)หรือหน่วยงานราชการอื่นๆ
2. พื้นที่นั้นจะต้องมีเส้นทางสาธารณะที่รถยนต์สามารถสัญจรผ่านได้อย่างสะดวก
3. ต้องดำเนินการก่อสร้างระบบจำหน่ายโดยใช้วิธีปักเสาพาดสายไฟเข้าไปถึงจุดที่ต้องการขอใช้ไฟฟ้าได้
4. มีเอกสารรับรองจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ ในการยืนยันขนาดพื้นที่การเกษตรและชนิดของกิจกรรมที่ต้องการขอใช้ไฟฟ้า
5. ต้องทำการระบุแหล่งน้ำที่จะใช้สำหรับการผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ขอใช้ไฟฟ้า ว่าใช้น้ำจากแหล่งใด เช่น คลองสาธารณะ คลองชลประทาน และแหล่งน้ำใต้ดินในลักษณะต่างๆ เป็นต้น
6. ต้องมีเอกสารสิทธิ์/หลักฐานสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายของพื้นที่ทำการเกษตร และต้องไม่ใช่ที่ดินที่มีการถือครองโดยเอกชนรายใหญ่
7. ต้องเป็นเกษตรกรรายย่อยที่มีการขอติดตั้งมิเตอร์ ขนาดไม่เกิน 15(45)แอมป์ ต่อ 1 ราย
8. ต้องสามารถทำการออกใบแจ้งหนี้ค่ากระแสไฟฟ้ามิเตอร์เครื่องที่ 2(ตัวใหม่) โดยจะมีการแจ้งเก็บเงินไปยังมิเตอร์เครื่องที่ 1(ตัวเก่า) โดยทั้งสองมิเตอร์จะต้องอยู่ในเขตพื้นที่ของการไฟฟ้าเดียวกัน
9. ค่าใช้จ่ายในการขยายเขตต่อราย เฉลี่ยไม่เกิน 50,000 บาท (PEA. รับผิดชอบค่าใช้จ่ายการขยายเขต)
เอกสารที่ต้องเตรียม
สำเนาทะเบียนบ้าน
สำเนาโฉนดที่ดิน
สำเนาบัตรประชาชน
ใบรับรองจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ
ขั้นตอนการขอไฟฟ้าเกษตร
1. ขอบ้านเลขที่
- กรณีอยู่พื้นที่ห่างไกล เพื่อทำการขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า ต้องสร้างเพิงพักหรือทำเป็นบ้านถาวรและจะต้องมีห้องน้ำ เพราะจำเป็นมากในการใช้เป็นหลักฐานสำหรับขอบ้านเลขที่
- กรณีมีบ้านพักอยู่แล้ว ให้ถ่ายรูปที่พักและห้องน้ำ ให้อนามัยในพื้นที่นั้นๆ เข้ามาตรวจสอบพร้อมออกเอกสารรับรองว่าถูกต้องตามสุขลักษณะ จากนั้นนำหนังสือไปยื่นกับผู้ใหญ่บ้านหรือผู้ที่เกี่ยวของในการของบ้านเลขที่
- นำเอกสารหรือหนังสือรับรองจากผู้ใหญ่บ้านไปยื่นที่อำเภอเพื่อลงทะเบียนขอสำเนาทะเบียนบ้านต่อไป
พอดีเรา
ข้อควรรู้: การขอไฟฟ้าเกษตรในพื้นที่ห่างไกลชุมชน เพื่อให้เข้าเกณฑ์ในการขอไฟฟ้าเกษตร จะต้องรวมกลุ่มบ้านในโซนเดียวกัน 3 หลังขึ้นไปเพื่อขอไฟฟ้า ถึงจะมีน้ำหนักในการขอไฟฟ้า หากเป็นบ้านหลังเดียวก็สามารถขอไฟฟ้าพิเศษได้ แต่ค่าไฟอาจจะสูงกว่าปกติ
2. ยื่นเรื่องกับหน่วยงานท้องถิ่น
นำเอกสารไปยื่นกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นใน อบต. หรือ เทศบาล พื้นที่ของแต่ละท่าน เจ้าหน้าที่จะให้กรอกเอกสารเพื่อรับรองโดยแนบสำเนาทะเบียนบ้านของท่านและเพื่อนบ้านไปพร้อมกัน
3.ยื่นเรื่องที่การไฟฟ้าในเขตพื้นที่
ยื่นคำร้องขอใช้ไฟฟ้า
- เมื่อได้รับคำร้องเรียบร้อยแล้ว การไฟฟ้าจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ การเดินสายภายในอาคารในพื้นที่ของท่าน
- หลังจากตรวจสอบ หากมีการเดินสายหรือติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ถูกต้องตามมาตรฐานการไฟฟ้าและไม่ปลอดภัย เจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำเพื่อทำการแก้ไขให้ถูกต้อง แต่หากถูกต้องแล้วจะแจ้งให้ผู้ใช้ไฟฟ้าทราบเพื่อทำการชำระค่าธรรมเนียมและเก็บใบเสร็จการชำระไว้เป็นหลักฐาน
- หลังจากชำระค่าธรรมเนียมขอใช้ไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว จะได้รับ SMS แจ้ง "ดำเนินการติดตั้งมิเตอร์แล้ว" และจะได้รับการติดตั้งมิเตอร์ โดยมีระยะเวลา ดังนี้
ในเขตเมืองติดตั้งมิเตอร์ภายใน 2-5 วันทำการ
นอกเขตเมืองติดตั้งมิเตอร์ภายใน 5-7 วันทำการ
ค่าธรรมเนียมในการยื่นขอมิเตอร์ไฟฟ้า
5(15) แอมป์ ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
15(45) แอมป์ 1 เฟส ค่าธรรมเนียม 6,450 บาท
15(45) แอมป์ 3 เฟส ค่าธรรมเนียม 21,350 บาท
ค่าไฟฟรี ใช้ไม่เกินกี่หน่วย? สำหรับค่าไฟฟ้าฟรี มีเงื่อนไข ดังนี้
- ผู้ใช้ประเภทบ้านที่อยู่อาศัย
- มิเตอร์ต้องไม่เกิน 5 แอมป์
- ต้องไม่เป็นนิติบุคคล
- ใช้ไฟไม่เกิน 50 หน่วย ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 เดือน